วันที่2 มีนาคม 2553
เป็นการสอบปลายภาค
อาจารย์ให้ตอบคำถามต่อไปนี้
1.ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง
ตอบ สิ่งที่ต้องศึกษา
-ทฤษฏีพัฒนาการของเด็ก ร่วมถึงธรรมชาติของเด็กในการรับรู้เรื่องของภาษาด้วย
-ความสำคัญและความหมายในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
-ควรรู้ถึงการดำเนินการสอนประสบการณ์ทางภาษาให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย
อย่างไรก็ดีในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเด็กให้มากที่สุด และควรจัดให้สอดคล้องกับวัยของเด็ก ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และศักยภาพที่ซ่อนเล้นอยู่
2.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร
ตอบ -เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาให้ดีขึ้น และ เหมาะสมตามวัย
-เพื่อให้เด็กสามารถบอกถึงความต้องการของเขา และสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจตรงกัน
3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง
ตอบ -ต้องคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ คือ ความแตกต่างระหว่างตัวบุคคล ทั้งยังสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรับรู้ที่มีประสิทธภาพของผู้เรียนอีกด้วย มีการสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย การจัดประสบการณ์ทางภาษานั้นต้องเลือกสิ่งที่จะสอนเป็นเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ และใกล้ตัวเด็กมากที่สุด
4.ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไร
ตอบ แนะแนวทางเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา คือ ควรให้ผู้ปกครองมีกิจกรรมร่วมกับเด็ก อาทิเช่น
การพาบุคคลไปห้องสมุดในวันว่าง สร้างทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือให้ลูกเห็น เล่านิทานและพูดคุยกับลูกให้บ่อยและเป็นกันเองทั้งยังต้องให้ลูกนั้นแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่พูดคุย เป็นผู้ฟังที่ดีเมื่อลูกต้องการที่จะเล่าเรื่องใดที่ฟัง ไม่ควรแสดงท่าที่ที่รำคาญ หรือให้เขาตัดสินใจ เริ่มจากเรื่องเล็กน้อยก่อน เช่น จะเลือกไปไหนดีในวันหยุดเป็นต้น
5.ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล ชื่อ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ประเมินผล
ตอบ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบได้แก่ การเล่านิทาน
เหตุผลที่ชอบ เนื่องมาจาก การเล่านิทานนั้นส่งเสริมทักษะในด้านการฟัง การพูด การอ่าน ส่งผลทักษะในการเขียนได้ในที่สุด
วัตถุประสงค์
-เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาให้กับเด็ก
-เพื่อให้เด็กเกิดทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่ดีได้ตามลำดับ
กิจกรรม
เล่านิทานให้เด็กฟังโดยเลือกเรื่องที่เหมาะสมทั้งในเรื่องของเนื้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร คือเป็นนิทานที่เหมาะสมในแต่ละวัย
เมื่อเล่านิทานจบ ควรกระตุ้นทักษะจากการฟังนิทาน
โดยการใช้คำถามเช่น ตัวละครในเรื่องมีใครบ้าง แล้วตัวละครทำอะไร ที่ไหน เป็นต้น
ประเมินผล
-สังเกตการตอบของเด็ก การพูดคุยและโต้ตอบกับเรา
หลังสอบเสร็จอาจารย์ให้นำโพสต์ขึ้น BLOGGER
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
บันทึกการเข้าเรียน
บันทึกวันที่19กุมพาพันธ์ พ.ศ.2553
- อาจารย์แจกแบบประเมินอาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษา
- อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Blog และอธิบายเรื่องการทำสไลด์
- นัดหมายการสอบปลายภาค
- อาจารย์แจกแบบประเมินอาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษา
- อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Blog และอธิบายเรื่องการทำสไลด์
- นัดหมายการสอบปลายภาค
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันที่ 12/2/2553
อาจารย์ให้ทุกคนเล่านิทานเรื่องแม่ไก่สีแดง คนละ 1 ประโยค
ส่งงาน
ให้หาวิจัยแล้วลิงห์ไปที่บล็อกของตัวเอง
ลิงแนวการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กเก็บไว้ในบล็อก
จัดแต่งบล็อกให้เรียบร้อย
การสอนเด็กต้องใช้แนะวิธีการปฏิบัติ
นิทานเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาได้อย่างไร
คือ นิทานสามารถใช้เป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การเลือกนิทาน
1.ต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัย
2.เป็นเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ
3.เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันที่5/2/53
วันนี้นำเสนอ ผลการจัดกิจกรรมทางภาษา
ในหัวข้อ บันทึกเสียงนิทาน
และของเพื่อนคือ สนุกกับคำสั่ง
sild สวยดี ตัวหนังสือค่อนข้างเยอะ
การนำเสนอของเพื่อน ติดขัด
คงเนื่องมาจากความตื่นเต้น
จากการนำเสนออาจารย์ได้เสนอแนะนำปรับปรุงเพิ่มเติม
1.การสังเกต
2.การสนทนาซักถาม
3.ผลงานที่เด็กทำการฟัง ฟังแล้วเข้าใจ สามารถกระทำ ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ฟังมาได้การพูด พูดแล้วผู้ฟังเข้าใจ รู้เรื่อง มีคำศัพท์ บรรยายได้ตรงกับความเป็นจริงการอ่าน อ่านแล้วประมวล สามารถโต้ตอบได้การเขียน สามารถขีดเขี่ย ขีดเขียนได้ตามพัฒนาการการจัดสิ่งแวดล้อม
- จัดบรรยากาศให้เหมาะสมในการเรียนรู้
- เด็กเรียนรู้โดยผ่านการร่วมทำกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย
- ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผ่านการกระตุ้นโดยคำถาม
- เปิดโอกาสให้เด็กได้สนทนาโต้ตอบ ได้แสดงความคิดเห็น
บรรยากาศ
การเรียนครั้งนี้ย้ายห้องจากห้องเดิมมาห้องใหม่
เสียงไมค์ ไม่ดี แต่เพียงไม่นานก็ดีขึ้นเหมือนเดิม
เป็นการฟังเพื่อนนำเสนอ
การสอนของอาจารย์การเรียนการสอน เป็นแบบพูดคุยซักถาม
พร้อมสอดแทรกเนื้อหา เพื่อให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น เพราะเกิดจากการเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำ
ในหัวข้อ บันทึกเสียงนิทาน
และของเพื่อนคือ สนุกกับคำสั่ง
sild สวยดี ตัวหนังสือค่อนข้างเยอะ
การนำเสนอของเพื่อน ติดขัด
คงเนื่องมาจากความตื่นเต้น
จากการนำเสนออาจารย์ได้เสนอแนะนำปรับปรุงเพิ่มเติม
1.การสังเกต
2.การสนทนาซักถาม
3.ผลงานที่เด็กทำการฟัง ฟังแล้วเข้าใจ สามารถกระทำ ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ฟังมาได้การพูด พูดแล้วผู้ฟังเข้าใจ รู้เรื่อง มีคำศัพท์ บรรยายได้ตรงกับความเป็นจริงการอ่าน อ่านแล้วประมวล สามารถโต้ตอบได้การเขียน สามารถขีดเขี่ย ขีดเขียนได้ตามพัฒนาการการจัดสิ่งแวดล้อม
- จัดบรรยากาศให้เหมาะสมในการเรียนรู้
- เด็กเรียนรู้โดยผ่านการร่วมทำกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย
- ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผ่านการกระตุ้นโดยคำถาม
- เปิดโอกาสให้เด็กได้สนทนาโต้ตอบ ได้แสดงความคิดเห็น
บรรยากาศ
การเรียนครั้งนี้ย้ายห้องจากห้องเดิมมาห้องใหม่
เสียงไมค์ ไม่ดี แต่เพียงไม่นานก็ดีขึ้นเหมือนเดิม
เป็นการฟังเพื่อนนำเสนอ
การสอนของอาจารย์การเรียนการสอน เป็นแบบพูดคุยซักถาม
พร้อมสอดแทรกเนื้อหา เพื่อให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น เพราะเกิดจากการเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำ
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 9
วันนี้นำเสนอ รายงานผลการจัดกิจกรรม ของกลุ่มต่างๆ
อาจารย์ให้คำcomment
เช่น เราอย่ามองและสรุปฟฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเพียงครั้งเด๊ยวแล้วสรุปผลเลย
เด็กเล็ก จัดกิจกรรมกลุ่มไม่ได้ เพราะเด็กเล็ก ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่
อาจารย์ให้คำcomment
เช่น เราอย่ามองและสรุปฟฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเพียงครั้งเด๊ยวแล้วสรุปผลเลย
เด็กเล็ก จัดกิจกรรมกลุ่มไม่ได้ เพราะเด็กเล็ก ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอยู่
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่8
อาจารย์ทบทวนงานที่ให้นักศึกษาไปจัดกิจกรรมประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พร้อมอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอนุบาล1-3ว่าแตกต่างกันอย่างไร ดังนี้
พร้อมอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอนุบาล1-3ว่าแตกต่างกันอย่างไร ดังนี้
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553
บันทึกครั้งที่7
บรรยายกาศ :ในห้องเรียนค่อนข้างเงียบเหงา
เนื่องจากเพื่อนที่เรียนในครั้งนี้น้อย
และอากาศภายนอกห้อง เต็มไปด้วยพายุ และฝนโหมกระหน่ำ
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มิเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้เลย
เพราะเรียนในห้องแอร์ สงบเงียบ ไร้สิ่งรบกวน
อาจารย์สั่งงาน นอกเวลา เกี่ยวกับการลงสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก
โดยแบ่งเป็น การเล่านิทาน คุยกับเด็กเป็นต้น
เนื่องจากเพื่อนที่เรียนในครั้งนี้น้อย
และอากาศภายนอกห้อง เต็มไปด้วยพายุ และฝนโหมกระหน่ำ
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มิเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้เลย
เพราะเรียนในห้องแอร์ สงบเงียบ ไร้สิ่งรบกวน
อาจารย์สั่งงาน นอกเวลา เกี่ยวกับการลงสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก
โดยแบ่งเป็น การเล่านิทาน คุยกับเด็กเป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)