ศึกษาดูงาน

ปริศนาคำทาย อะไรเอ่ย?

เล่านิทาน ชั้นอ.1/2

นิทานแนะนำ ก-ฮ

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ครั้งนี้

สรุป หลักการ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

ควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
โดยคำนึงถึงตัวเด็กเเป็นหลัก
หลักของการจัดประสบการณ์ให้เด็กก้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เช่น ทักษะด้านภาษา

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่4

วันนี้มีการนำเสนอPOWER POINTเกี่ยวกับเนื้อหาในหัวข้อต่างๆที่ได้รับมอบหมาย
PERSENT เป็นกลุ่มทั้งหมด 5กลุ่ม ดังนี้
1ความหมายของภาษา
2ทฤษฏีทางสติปัญญา
3จิตวิทยาการเรียนรู้
4การสอนภาษาแบบองค์รวม
5หลักการ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก

สรุปเนื้อหาหลังจากการฟังการนำเสนอ
ทฤษฏีเพียเจต์ กล่าวว่าสิ่งเร้ามากระตุ้น
ส่วนการทำงานของสมองนั้น

เนื่องจากเวลาไม่เพียงพอ อาจารย์เลยกำหนดว่าให้ กลุ่มของข้าพเจ้านำเสนอในอาทิตย์หน้า

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 3

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ
ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ขั้นที่1 คาดเดาภาษาและหนังสือ แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง
ขั้นที่2 แก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคด้วยตนเอง
ขั้นที่3 จำคำที่คุ้นเคยได้ คาดคะเนความหมายจากบริบท
ขั้นที่4 เข้าใจเกี่ยวกับ การเริ่มต้น และ การลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดาคำ
ขั้นที่5 สร้างคำศัพท์จากสิ่งที่พบเห็นได้มากขึ้น
เด็กจะมีพัฒนาการแบ่งได้เป็น 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่1 ขีดเขี่ย
ขั้นที่2 เขียนเส้นตามยาวซ้ำๆกัน
ขั้นที่3 เริ่มเขียนได้มีรูปร่างคล้ายตัวอักษร
ขั้นที่4 เขียนตัวอักษรและสัญลักษณ์ของคำเริ่มต้นได้สัมพันธ์กัน
ขั้นที่ 5 สร้างตัวสะกดเอง
ขั้นที่ 6 สามรถเขียนได้ถูกต้องตามแบบแผน

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 13 พ.ย 2552

คำสั่งวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5 คนโดยที่กลุ่มผู้เรียนได้หัวข้อ
เรื่องหลักการการจัดประสบการณ์ ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น
ควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กคำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลักจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน เช่น ทักษะทางภาษา

ความหมายของภาษา
ความสามารถทางภาษา หมายถึง การรับรู้และการแสดงออกทางภาษาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็กอายุ 5-6 ปี แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ
1.1 ความสามารถด้านการฟัง หมายถึง การตั้งใจรับรู้เสียงที่ได้ยิน โดยสัมผัสทางหูและส่งไปผ่านสมอง เพื่อแปรความหมายให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน
1.2 ความสามารถด้านการพูด หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ ประโยคอย่างมีความหมาย หรือแสดงออกเป็นภาษาท่าทาง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ
1.3 ความสามารถด้านการอ่าน หมายถึง การแปลความหมายจากสื่อ สัญลักษณ์ ที่เห็นของจริง แผ่นภาพ ตัวอักษรได้อย่างถูกต้อง
1.4 ความสามารถด้านการเขียน หมายถึง การบังคับกล้ามเนื้อมือ ให้สัมพันธ์กับตาและสามารถเขียนเป็นภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษรให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย
ความสามารถทางภาษาที่กล่าวข้างต้นนี้ สามารถวัดโดยการเก็บรวบรวมผลงานที่เด็กสร้างขึ้น

ปัจจุบันการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีมีสถานเลี้ยงเด็กที่ได้มาตรฐาน มีพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ เข้าใจ ความต้องการ พัฒนาการเด็กจะส่งผลให้เด็กได้รับความรัก ความอบอุ่น ความมั่งคงทางจิตใจ เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข หนังสือสำหรับเด็กจะทำให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี มีความสุข มองโลกในแง่ดีและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก การอ่านคำกลอนให้เด็กฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะคำกลอนเป็นสื่อที่เด็กคุ้นเคย ให้ความสนุกสนานและความรู้ เด็กสามารถเก็บความจากเรื่องที่ฟังได้สมควรแก่วัย
การที่ครูอ่านคำกลอนให้เด็กฟังแล้วให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์จากคำกลอนโดยครูมีคำถามมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ด้วยนั้น เป็นการส่งเสริมการแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากนี้กิจกรรมการวาดภาพเป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กได้ เด็กในวัยนี้ชอบวาดภาพเป็นชีวิตจิตใจถึงแม้จะยังอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ แต่เขาสามารถวาดภาพบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของเขาให้เรารับรู้ได้อย่างละเอียด โดยผ่านวิธีการวาดภาพ เพราะในการวาดภาพของเด็กนั้นมักสะท้อนถึงเรื่องราวที่เขาสนใจ
จากสภาพการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไป ครูมักจะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ ครูยังเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุด เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองพฤติกรรมที่ครูเป็นผู้ริเริ่ม การนำกิจกรรมละครสร้างสรรค์มาใช้กับเด็ก ครูยังคิดเป็นเรื่องยุ่งยาก เสียเวลาและตัวครูยังขาดทักษะบางประการที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กโดยผ่านละครสร้างสรรค์อีกด้วย ในทำนองเดียวกันการนำกิจกรรมการวาดภาพมาใช้กับเด็กปฐมวัย ครูส่วนมากจะเน้นที่การพัฒนากล้ามเนื้อมือและตา ในลักษณะประสาทสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงามเป็นหลักและมองข้ามการใช้การวาดภาพเสริมกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านจิตใจ
สำหรับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก คำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลัก จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ “กระทำ” เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน ควรเลือกประสบการณ์ที่ใกล้ตัวเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก อีกทั้งต้องคำนึงถึงความแตกต่างและความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล เพราะเมื่อเด็กมีความสนใจก็จะตั้งใจทำกิจกรรมและเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ยิ่งไปกว่านั้นควรจัดประสบการณ์ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ในหลายรูปแบบ เช่น การปฏิบัติการทดลอง การนำไปทัศนศึกษา การเล่นบทบาทสมมติ การเล่นเป็นกลุ่มและเดี่ยว ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีวิธีการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้การจัดหน่วยประสบการณ์ให้กับเด็กนิยมจัดในรูปของกิจกรรมต่างๆ คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุม กิจกรรมในวงกลม กิจกรรมการเล่นกลางแจ้งและเกมการศึกษา ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาแก่เด็กว่าเป็นวิธีที่เด็กได้ฝึกทักษะการมองจากซ้ายไปขวา การลากตัวอักษรจากบนลงล่าง และการจำเครื่องหมายต่างๆ ตลอดจนการสร้างสมุดเล่มใหญ่ (Big Book) จะช่วยเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดจินตนาการทบทวนความจำ ได้แสดงออกตามความสามารถของแต่ละคน อีกทั้งได้ใช้กล้ามเนื้อและสายตาอย่างประสานสัมพันธ์กัน มีการถ่ายโยงการเรียนรู้ซึ่งกันและกันขยายความรู้ความคิดแก่กัน ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ และเรียนรู้อย่างสนุกสนาน

กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่จะให้ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ต้องมีองค์ประกอบและการดำเนินงาน ต่อไปนี้
1. การวางแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนดำเนินการใดๆควรได้มีการวางแผนการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการให้ประสบผลสำเร็จต้องเริ่มจากการวางแผนการจัดหลักสูตร จัดประสบการณ์เพื่อให้การสอนเกิดผลดีที่สุดเพราะ “ไม่มีการสอนที่ดีใดจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า” (นิตยา ประพฤติกิจ ,2539,หน้า 11) การวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ครูจำเป็นต้องทราบว่าจะวางแผนอย่างไร เพื่อให้เด็กได้พัฒนาพร้อมกันทั้งการเรียนและการเล่น ทั้งนี้เพราะสำหรับเด็กปฐมวัยการเล่นจะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้ นอกเหนือจากนี้เด็กจะพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของครูที่จะนำความรู้ที่ตนมีอยู่ไปใช้กับเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ตามระดับพัฒนาการของเด็กก่อนวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ ครูควรได้อ่านประวัติของเด็กแต่ละคน ซึ่งประวัตินี้อาจได้มาจากการประชุมผู้ปกครอง ระเบียนประวัติของนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กพูดไม่ชัดเด็กยังไม่มีพัฒนาการด้านภาษาเด็กติดอ่างเด็กไม่พูดเด็กพูดภาษาถิ่นการรู้ประวัติของเด็กช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้นเพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ว่าใช้ภาษาอย่างไร พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหน เด็กอยู่กับใคร เด็กที่อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับปู่ย่าตายาย หรืออยู่กับพี่เลี้ยงย่อมใช้ภาษาแตกต่างกัน เช่น เด็กที่อยู่กับพี่เลี้ยงที่พูดภาษาถิ่น ย่อมพูดภาษาถิ่นด้วย เด็กที่ครอบครัวเอาใจใส่จะใช้ภาษาดีกว่าเด็กที่ครอบครัวปล่อยปละละเลยเมื่อครูรู้จักเด็กดีแล้ว ก็จะวางแผนการจัดประสบการณ์ได้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร จะใช้สื่ออะไรเพื่อให้เด็กพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
2. หลักการจัดการเรียนรู้ทางภาษาในการวางแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก ควรต้องพิจารณาหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ
2.1 ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
2.2 ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4 ด้าน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ การฟัง การพูด การเขียน และการอ่าน
2.3 เด็กที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหลากหลาย จะมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น
2.4 เด็กที่มีวัยต่างกันมีความสามารถในการใช้ภาษาต่างกัน
2.5 พ่อแม่สามารถสร้างเสริมประสบการณ์ด้านภาษาให้ลูกได้

แหล่งที่มา
http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=5868

http://www.vcharkarn.com/vblog/34707/2

บันทึกการเข้าเรียน
การเข้าเรียนในครั้งนี้อาจารย์ให้สืบค้นเนื้อหาที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่ม กำหนดกลุ่มละ5คน
ในระหว่างที่ให้สืบค้นนั้น อาจารย์ได้ตรวจเครื่องแต่งการ (ทรงผม เสื้อผ้า กระโปง รองเท้า)
บรรยากาศในการเรียน เป็นในลักษณะเยือกเย็น เนื่องจากระดับอุณหภูมิห้องอยู่ในระดับต่ำ
แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียน เพราะชอบที่เป็นแบบนี้

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คาบแรก


นางสาว ประภาพร วังสุริย์
รหัสนักศึกษา 5111202460
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
6/11/52



1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
หมายถึง การเรียนรู้ที่ผู้สอนจะต้องจัดขึ้นให้กับผู้เรียน โดยต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่างๆและวุฒิภาวะของผู้เรียนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้กำหนดไว้
2.บรรยากาศในห้องเรียน
ในการเรียนวันนี้สภาพบรรยากาศภายในห้องน่าเรียนมาก อาจเนื่องมาจากอากาศภายในห้องที่ไม่ร้อน ผิดไปจากการเรียนวิชาอื่นๆในเทอมที่ผ่านมานั้นได้เรียนที่ห้องพัดลมอากาศร้อนมาก
3.สรุปใจความสำคัญของการจัดประสบการณ์ทางภาษาธรรมชาติ
คือ เป็นการดำเนินงานโดยผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา ผ่านสัมผัสทั้ง5 (ตา หู จมูก ปาก กายสัมผัส)
4.บทสรุปเนื้อหา
การจัดประสบการณ์ทางภาษาธรรมชาตินั้น ก็คือ การเตรียมเนื้อหาที่จะจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนนั้นเกิดพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย การรับรู้ของแต่ละบุคคลอย่างเติมประสิทธิภาพ ผ่านสัมผัสทั้ง5 เพื่อให้เกิดพัฒนาการในด้านต่างๆอย่างสมบูรณ์