ศึกษาดูงาน

ปริศนาคำทาย อะไรเอ่ย?

เล่านิทาน ชั้นอ.1/2

นิทานแนะนำ ก-ฮ

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ครั้งนี้

สรุป หลักการ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

ควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
โดยคำนึงถึงตัวเด็กเเป็นหลัก
หลักของการจัดประสบการณ์ให้เด็กก้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เช่น ทักษะด้านภาษา

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่4

วันนี้มีการนำเสนอPOWER POINTเกี่ยวกับเนื้อหาในหัวข้อต่างๆที่ได้รับมอบหมาย
PERSENT เป็นกลุ่มทั้งหมด 5กลุ่ม ดังนี้
1ความหมายของภาษา
2ทฤษฏีทางสติปัญญา
3จิตวิทยาการเรียนรู้
4การสอนภาษาแบบองค์รวม
5หลักการ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก

สรุปเนื้อหาหลังจากการฟังการนำเสนอ
ทฤษฏีเพียเจต์ กล่าวว่าสิ่งเร้ามากระตุ้น
ส่วนการทำงานของสมองนั้น

เนื่องจากเวลาไม่เพียงพอ อาจารย์เลยกำหนดว่าให้ กลุ่มของข้าพเจ้านำเสนอในอาทิตย์หน้า

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 3

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ
ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ขั้นที่1 คาดเดาภาษาและหนังสือ แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง
ขั้นที่2 แก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคด้วยตนเอง
ขั้นที่3 จำคำที่คุ้นเคยได้ คาดคะเนความหมายจากบริบท
ขั้นที่4 เข้าใจเกี่ยวกับ การเริ่มต้น และ การลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดาคำ
ขั้นที่5 สร้างคำศัพท์จากสิ่งที่พบเห็นได้มากขึ้น
เด็กจะมีพัฒนาการแบ่งได้เป็น 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่1 ขีดเขี่ย
ขั้นที่2 เขียนเส้นตามยาวซ้ำๆกัน
ขั้นที่3 เริ่มเขียนได้มีรูปร่างคล้ายตัวอักษร
ขั้นที่4 เขียนตัวอักษรและสัญลักษณ์ของคำเริ่มต้นได้สัมพันธ์กัน
ขั้นที่ 5 สร้างตัวสะกดเอง
ขั้นที่ 6 สามรถเขียนได้ถูกต้องตามแบบแผน